Friday, September 14, 2018

Chemistry News 2: รู้จักพาราควอต 1 ใน 3 สารเคมีอันตรายในอุตสาหกรรมการเกษตร

ความพยายามในไทยในการผลักดันการห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด (พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต) ยืดเยื้อมากว่าหนึ่งปี ท่ามกลางข้อถกเถียงของฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่อง สุขภาพและสิ่งแวดล้อม กับฝ่ายธุรกิจเคมีและภาคเกษตรบางส่วนที่เห็นว่า การใช้สารเคมียังมีความจำเป็นเพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้
ความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ทีผ่านมา คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่แต่งตั้งโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสรุปให้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมารวบรวมข้อมูลวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดใหม่ หลังจากคณะกรรมการ ปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสังคม และภาคประชาชน เสนอให้ทบทวนการตัดสินใจของคณะกรรมการวัถตุอันตราย ที่มีมติไม่ห้ามใช้ สารเคมีอันตรายดังกล่าว
อะไรคือพาราควอต
พาราควอต เป็นชื่อของสารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพืชไร่ เป็นยาเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็ว ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่มีฤทธิ์ทำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา
ปี 2560 ไทยนำเข้าสารพาราควอต 44,501 ตัน มูลค่า 3,816 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในไทย ตามด้วยสารไกลโฟเซต ที่ไทยนำเข้า 59,852 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,283 ล้านบาท
mage copyright

Iasdasdmage copyright

คำบรรยายภา
Image copyright
Image copyright





วันที่ 23 พ.ค.2561 คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด แต่ให้จำกัดการใช้ สวนทางกับข้อเสนอของ กระทรวงสาธารณสุขที่เสนอให้ยกเลิก
การตกค้างของพาราควอตต่อพืชผัก นักวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างที่ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ในเดือน ธ.ค. 2560 ตรวจพบสารพาราควอตในผักท้องถิ่นทุกตัวอย่าง ได้แก่ พริกแดง กระเพรา คะน้า ชะอม ขณะที่การตรวจสารตกค้างของผักผลไม้ในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างค้าปลีกของเครือข่ายเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) พบสารพาราควอตในผักผลไม้ในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 38 ตัวอย่างจาก 76 ตัวอย่าง


ทว่าในรายงานของอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย กลับอ้างรายงานการตรวจวิเคราะห์ของ กรมวิชาการเกษตร ตรวจสารพิษตกค้างพาราควอต ในตัวอย่างพืช มะเขือเปราะ และหน่อไม้ฝรั่ง ที่ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู ช่วงเดือน มี.ค. 2561 ไม่พบสารพิษตกค้าง ซึ่งเป็นการตรวจในกลุ่มตัวอย่างคนชนิดและต่างช่วงเวลา
ข้อถกเถียงเรื่องพิษพาราควอต
ตามข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ระบุว่า พาราควอตมีพิษสูง แค่การกินเพียงจิบเดียวก็ถึงแก่ชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ
เมื่อปี 2009 องค์การอนามัยโลก จัดให้พาราควอต เป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง แต่มีข้อสังเกตในรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหากถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย และเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทาน หรือสัมผัสกับผิวหนังในบริเวณกว้าง
ด้านศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รายงานสถิติผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษพาราควอต ช่วงปี 2553-2559 ว่ามีจำนวน 4,223 ราย มีผู้เสียชีวิตคิดเป็น 46.18% สาเหตุหลักเกิดจากการนำไปใช้ฆ่าตัวตาย 56.60%
สถิติที่น่าในใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีผู้เสียชีวิตด้วยพาราควอตจากการประกอบอาชีพ 8.19% คิดเป็นจำนวน 171 ราย


ประชาคมนักวิชาการที่สนับสนุนการยกเลิกพาราควอต ได้เผยแพร่งานวิชาการหลายชิ้นที่ระบุว่า พาราควอต สัมพันธ์กับการก่อโรคพาร์กินสัน เป็นพิษเฉียบพลันสูงจากการสูดดม
การสวมเสื้อผ้าแบบปกปิดมิดชิดก็ไม่สามารถป้องกันการสัมผัสทางผิวหนังได้ และบาดแผลเผาไหม้ที่เกิดจากพาราควอตเองจะทำให้พาราควอต ผ่านเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการปฏิรูปสาธารณสุข กล่าวกับบีบีซีไทยว่า กลไกของพาราควอตเมื่อเข้าไปทำลายร่างกายแล้ว สามารถทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้หมด กลุ่มอาการของโรคที่สารเคมีสะสม เป็น โรคที่รักษาไม่ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่โรคไต มะเร็ง โรคตับ น่าจะมีส่วนร่วมอยู่ด้วย และโรคทางสมองที่รักษาไม่ได้
"รายงานที่ตรงกันพบว่า ความสำคัญของมันอยู่ที่ได้รับบ่อย ๆ ถึงจะปริมาณน้อยก็ตามเข้าไปสม่ำเสมออยู่เรื่อย ๆ ถึงทำให้เกิดโรค" นพ. ธีระวัฒน์ กล่าว "การบอกว่าเมื่อเจาะเลือดแล้วไม่เจอ ได้รับการพิสูจน์เรียบร้อยแล้วว่า ไม่ใช่แค่ปริมาณเยอะอย่างเดียว แต่แม้ปริมาณน้อยจนแทบตรวจไม่ได้ แต่ได้อยู่เรื่อย ๆ ก็ทำให้เกิดโรคชัดเจน"
การห้ามใช้พาราควอตในต่างประเทศ
ปัจจุบันมีอย่างน้อย 53 ประเทศทั่วโลกที่ ยกเลิกการใช้พาราควอต ซึ่งรวมถึงประเทศในสหภาพยุโรป ที่ยกเลิกเมื่อปี 2007
ศาลแห่งสหภาพยุโรปมีคำสั่งยกเลิกการใช้พาราควอต เนื่องจากข้อกังวลด้านสุขภาพและการประเมินความปลอดภัยในสารเคมี รวมทั้งการไม่นำรายงานผลกระทบต่อโรคพาร์กินสัน มาพิจารณา
ในเอเชีย ห้ามใช้พาราควอตแล้วใน 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน คูเวต ลาว เกาหลีใต้ ศรีลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม ส่วนประเทศที่จำกัดการใช้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
จีนทยอยยกเลิกการใช้พาราควอตตั้งแต่ปี 2012 ด้วยเหตุผลเพื่อการปกป้องสุขภาพของประชาชน และยกเลิกการใช้และจำหน่ายสูตรน้ำเมื่อปี 2016


สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ยกเลิกพาราควอต แต่จำกัดการใช้อย่างเข้มงวด
ส่วนในไทย กรมวิชาการเกษตรชี้แจงกับบีบีซีไทยว่า ได้จัดทำหลักเกณฑ์การจำกัดการใช้วัตถุอันตรายเสนอไปยังคณะกรรมการวัตถุอันตรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

ที่มา: BBC

No comments:

Post a Comment

Chemistry News 9: เตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพอง

เคสโทรศัพท์มือถือชนิดที่สามารถใส่ของเหลว ทั้งแบบมีสีและไม่มีสี ผสมกลิตเตอร์ หรือกากเพชรวิววับ เป็นที่นิยมในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติมาสักระย...